Karakuri

ย้อนกลับไป ประมาณ 1200 ปี กล่าวกันว่า มีการบันทึกในประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรกว่า เรื่องราวเกี่ยวกับ Karakuri ของญี่ปุ่น ได้เริ่มเกิดขึ้น ในยุคสมัย Heian หลังจากนั้น ในสมัย Muromachi มีการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตาก เช่น อุปกรณ์เครื่องจักร ประเภทนาฬิกา และในศตวรรษที่ 17 จึงได้เริ่มมี "Karakuri" ที่เป็นของญี่ปุ่นเอง

สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของคาราคุริในญี่ปุ่น คือ ตุ๊กตา Karakuri ที่มี "ตุ๊กตายกชา" และ เด็กยิงธนู ที่มีลูกธนูออกจากตะกร้า

ตุ๊กตายกชา

ตุ๊กตายกชา

ตุ๊กตายิงธนู

ตุ๊กตายิงธนู

ลักษณะพิเศษดังกล่าวของ Karakuri คือ การเคลื่อนไหวแบบ อนาล็อค ที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนเชิงวิทยาศาสตร์ หรือ อุปกรณ์ควบคุม เช่น มอเตอร์ หรือ เซ็นเซอร์ แต่ เป็น การใช้ เกลียวสปริง หรือ ฟันเฟือง

Karakuri (คาราคุริ) คือ การเคลื่อนไหวที่ไม่ต้องอาศัยแรงที่ต้องสร้างขึ้นมา แต่ใช้กลไกในการขับเคลื่อนให้เกิดการเคลื่อนไว้

องค์กรส่วนใหญ่จึง เปลี่ยนมาใช้คาราคุริในการเคลื่อนย้าย และผลิตชิ้นงาน

  1. ทำได้ง่าย : กลไกง่าย ๆ ช่วยแก้ไขปัญหาการผลิตที่มีประมาณมากได้
  2. สามารถสร้างได้เอง : เพียงแค่ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ สามารถประดิษฐ์ผลงานขึ้นมาใช้ได้
  3. มีต้นทุนที่ต่ำ : สามารถนำวัสดุเหลือใช้มาประกอบเป็นชิ้นงาน
  4. ประหยัดพลังงาน : การขับเคลื่อนเกิดจากกลไก ไม่ได้ใช้พลังงานมอเตอร์ หรือ ไฟฟ้า ที่เป็นแหล่งของกำลัง
  5. พัฒนาบุคลากร : พนักงานเกิดการพัฒนา และปรับปรุงสภาพหน้างานของตนเอง จึงเป็นการพัฒนาตนเอง และเกิดความภาคภูมิใจในงาน

โบรชัวร์ หลักสูตร

Karakuri : Low Cost Automation
อ่านรายละเอียด

Karakuri DOJO (からくり 道場)

DOJO (道場) เป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง สถานที่สำหรับการฝึกปฏิบัติ

องค์กรญี่ปุ่นจึงสร้าง DOJO ในบริษัท เพื่อให้พนักงานได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความเข้าใจ มีความชำนาญ และส่งพนักงานลงปฏิบัติงานจริงในจุดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้

Karakuri Dojo (からくり 道場)

เป็นสถานที่ฝึกออกแบบ ประกอบ ทดลอง กลไกที่ใช้สำหรับการสร้างผลงาน Karakuri

วัตถุประสงค์
  1. สร้างความรู้ในหลักการพื้นฐานให้สถานประกอบการ เพื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง
  2. เป็นความรู้พื้นฐาน นำไปสู่การสร้างโครงการเพิ่มผลผลิตของแต่ละบริษัท
อ่านรายละเอียด
Karakuri Contest

รอบชิงชนะเลิศ วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2563
เวลา 09.00 – 16.00 น.
สถานที่ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ซอยพัฒนาการ 18

ติดตามรับชม ผ่าน FB : ศูนย์บริการให้คำปรึกษา

สแกน QR Code ไปสู่ FB : ศูนย์บริการให้คำปรึกษา
FB:ศูนย์บริการให้คำปรึกษา

รุ่นวันที่ 1วันที่ 2วันที่ 3สมัครอบรม
P22PJ003SC6 ก.ค. 657 ก.ค. 658 ก.ค. 65https://www.tpif.or.th/WebDev/Booking_Form.php?BdgCode=P22PJ003SC&new_course
P22PJ004SC21 พ.ย. 6522 พ.ย. 6523 พ.ย. 65https://www.tpif.or.th/WebDev/Booking_Form.php?BdgCode=P22PJ004SC&new_course
P22PJ005SC1 ก.พ. 662 ก.พ. 666 ก.พ. 66https://www.tpif.or.th/WebDev/Booking_Form.php?BdgCode=P22PJ005SC&new_course

Karakuri