หลักเกณฑ์

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1. ประเภท Kaizen Suggestion System
-
ผลงานประเภทความคิดสร้างสรรค์ที่ ไม่มีการประดิษฐ์ เพื่อการปรับปรุงกระบวนการให้เป็นระบบอัตโนมัติ กึ่งอัตโนมัติ หรือหลักการทางกลศาสตร์
-
เน้น “คิดใหม่ ทำใหม่”
-
อิสระเป็นไทย ไร้กรอบ
-
มีความคิดรวบยอด สร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้งานได้จริง
-
กรณีเป็นผลงานที่นำเสนอในนามสถานประกอบการ จะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารหรือตัวแทนสถานประกอบการ
-
สามารถนำเสนอให้กรรมการซื้อความคิด โดยนำเสนอความคิดสรุปรายละเอียดในกระดาษ A4 จำนวนไม่เกิน 20 หน้า
-
เอกสารแสดงถึงการจดสิทธิบัตร (ถ้ามี)
-
การพิจารณาผลงาน ตัดสินโดยคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนมาจากอาชีพที่หลากหลายจำนวนประมาณ 10 ท่าน
- ผลงานที่นำเสนอต้องยินดีให้เผยแพร่สู่สาธารณชน
2. ประเภท Automation Kaizen
-
ผลงานที่ มีการประดิษฐ์ เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้เป็น ระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ โดยใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ไฮดรอลิก นิวแมติก
เข้ามาเกี่ยวข้อง
-
เน้น “การปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อมุ่งสู่การผลิตอัตโนมัติ” โดยพนักงานหรือกลุ่มปรับปรุงงานของสถานประกอบการ
-
ผลงานที่นำเสนอต้องเป็นผลงานที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์
-
ผลงานที่นำเสนอจะนำเสนอในนามสถานประกอบการ โดยได้รับอนุมัติจากผู้บริหารหรือตัวแทนสถานประกอบการ
-
เจ้าของผลงานจะต้องนำเสนอให้เห็นถึง แนวคิด (Conceptual) หลักการในการแก้ปัญหา หรือปรับปรุงข้อมูลเปรียบเทียบ ก่อน-หลัง ประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลของโครงงาน จุดเด่นด้านเทคนิค (ไม่จำเป็นต้องแสดงถึงรายละเอียดในระดับพิมพ์เขียว)
-
ไม่จำกัดต้นทุนการผลิตผลงาน เน้นการประเมินผลจากความคุ้มค่า (ประสิทธิภาพและประสิทธผล)
-
ผลงานที่นำเสนอ สถานประกอบการต้องยินดีให้เผยแพร่สู่สาธารณชน
-
เอกสารแสดงถึงการจดสิทธิบัตร (ถ้ามี)
-
การนำเสนอหากไม่สามารถเคลื่อนย้ายผลงานจริงมาในงานได้ให้จัดทำ VDO/VCD/ แบบจำลอง / ภาพถ่าย หรือวิธีการที่สามารถนำเสนอ
ให้คณะกรรมการและผู้ร่วมงานเข้าใจเป็นอย่างดี
-
ในกรณีผ่านเข้ารอบตัดสิน องค์การต้องยินยอมให้ สมาคมฯ เผยแพร่ ภาพถ่าย/วิดีโอ (เฉพาะจุด ไม่รวมเขตพื้นที่กระบวนการผลิตหรือบริเวณที่เป็นข้อมูล
ความลับขององค์การ)
3. ประเภท Karakuri (Un-plug) Kaizen
-
ผลงานที่ มีการประดิษฐ์ เพื่อปรับปรุงกระบวนการ โดยใช้หลักกลศาสตร์ เฟือง สปริง คาน แรงลม ล้อ เพลา แสงแดด คานงัด เป็นต้น
-
เน้น “การปรับปรุงกระบวนการ โดยใช้หลักกลศาสตร์” โดยพนักงานหรือกลุ่มปรับปรุงงานของสถานประกอบการ
-
ผลงานที่นำเสนอต้องเป็นผลงานที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์
-
ผลงานที่นำเสนอจะนำเสนอในนามสถานประกอบการ โดยได้รับอนุมัติจากผู้บริหารหรือตัวแทนสถานประกอบการ
-
เจ้าของผลงานจะต้องนำเสนอให้เห็นถึง แนวคิด (Conceptual) หลักการในการแก้ปัญหา หรือปรับปรุงข้อมูลเปรียบเทียบ ก่อน-หลัง ประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลของโครงงาน จุดเด่นด้านเทคนิค (ไม่จำเป็นต้องแสดงถึงรายละเอียดในระดับพิมพ์เขียว)
-
ไม่จำกัดต้นทุนการผลิตผลงาน เน้นการประเมินผลจากความคุ้มค่า (ประสิทธิภาพและประสิทธผล)
-
ผลงานที่นำเสนอ สถานประกอบการต้องยินดีให้เผยแพร่สู่สาธารณชน
-
เอกสารแสดงถึงการจดสิทธิบัตร (ถ้ามี)
-
การนำเสนอหากไม่สามารถเคลื่อนย้ายผลงานจริงมาในงานได้ให้จัดทำ VDO/VCD/ แบบจำลอง / ภาพถ่าย หรือวิธีการที่สามารถ
นำเสนอให้คณะกรรมการและผู้ร่วมงานเข้าใจเป็นอย่างดี
-
ในกรณีผ่านเข้ารอบตัดสิน องค์การต้องยินยอมให้ สมาคมฯ เผยแพร่ ภาพถ่าย/วิดีโอ (เฉพาะจุด ไม่รวมเขตพื้นที่กระบวนการผลิตหรือบริเวณที่เป็นข้อมูล
ความลับขององค์การ)
องค์ประกอบของเอกสารสรุปกิจกรรมที่จะต้องนำส่ง
1.
ประวัติหน่วยงาน และการทำกิจกรรม Kaizen ของกลุ่มหรือเจ้าของผลงาน
2.
แบบฟอร์ม Kaizen ที่กรอกรายละเอียดของผลงานที่ส่งเข้าประกวด
3.
แนะนำผลงานและมูลเหตุจูงใจ
4.
ข้อมูลสภาพของปัญหาสาเหตุและภาพประกอบ
5.
แนวความคิดในการปรับปรุงงาน รวมถึงจุดเด่นทางด้านเทคนิค (ไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดในระดับพิมพ์เขียว)
6.
การดำเนินการ กระบวนการ Kaizen รวมถึงรูปภาพก่อนและหลังปรับปรุง
7.
ข้อมูลการเปรียบเทียบผลลัพธ์หลังจากนำมาใช้ให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผลงาน ในลักษณะการตรวจสอบผลของ
P, Q, C, D, S, M, E, E หรือดัชนีตัวอื่นที่เหมาะสมในรูปแบบตัวเลขเชิงสถิติที่ชัดเจน
8.
การสรุปผลเป็นมาตรฐานการใช้งาน
9.

แผนงานการปรับปรุงในอนาคต

ขั้นตอนการคัดเลือก
1.
ตรวจประเมินจากเอกสารสรุปผลงาน
2.
นำเสนอผลงานรอบคัดเลือก  (เฉพาะผลงานที่ผ่านเกณฑ์การตรวจรอบเอกสาร)
3.
ตรวจผลงานและสัมภาษณ์ผู้บริหาร ณ สถานปฏิบัติงานของผลงาน Kaizen เฉพาะประเภท Automation และ Karakuri (Un-Plug) Kaizen
(เฉพาะผลงานที่ผ่านเกณฑ์นำเสนอรอบคัดเลือก)
4.
นำเสนอผลงานรอบชิงชนะเลิศ